“รักตัวเอง” ไม่ต้องเริ่มที่ตัวเองเสมอไป (Part 1)
ไม่จำเป็นต้องรักตัวเองก่อนเสมอไป... ความรักจากคนอื่นสามารถช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะรักตัวเองได้เช่นกัน
คำกล่าวทางจิตวิทยาที่บอกว่า เราจะต้องเริ่มรักตัวเองก่อน ก่อนจะให้คนอื่นมารักเรา แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายๆ คน ก็เรียนรู้วิธีที่จะรักตัวเอง โดยการได้รับความรักจากคนอื่นมาก่อน
ตั้งแต่เราเด็กๆ หากครอบครัวของเราไม่ค่อยอบอุ่น ไม่รักใคร่กัน หรือเป็น Safe Zone ให้ก ับเราเท่าไหร่ มันคงจะเป็นเรื่องยากที่เราจะเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-esteem) (PsychologyToday.com, Pereira et al., 2021)
งานวิจัยพบว่าคนที่โตมาในครอบครัวที่ไม่ใส่ใจดูแล ห่างเหิน ถูกละเลยความต้องการในด้านต่างๆ ไปจนถึงการถูกทอดทิ้ง หรือใช้ความรุนแรงในครอบครัวมักมีมุมมองต่อตัวเองในทางลบ ไปจนถึงมองว่า “ตัวเองไม่มีค่าพอให้ถูกรัก” (Parentingstyles.com, Wu, 2009)
ในทางตรงกันข้ามเมื่อเรารู้สึกเป็นที่รัก ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม สม่ำเสมอและมั่นคง จนรู้สึกว่าตัวฉันมีคุณค่าที่จะเป็นที่รักของใครสักคน และทำให้เราเชื่อได้อย่างจริงใจว่าเรามีคุณค่าและคู่ควรกับการได้รับความรัก (Martín Quintana et al.,2023)
ด้วยแบบอย่างที่ดีในการดูแลเอาใจใส่ตัวเองนี้ ทำให้คนๆ หนึ่งเรียนรู้ที่จะรักตัวเองอย่างเข้าใจ
เพราะเข้าใจคุณค่า รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของตัวเอง อย่างไม่ตัดสินตัวเอง แบบที่เกินความเป็นจริง
โอบกอดความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองได้...เพราะเข้าใจคุณค่าและข้อดีของการถูกรักและดูแลเอาใจใส่
(โดยเฉพาะการเอาใจใส่ตัวเอง)
Attachmentproject.com, Wei et al., 2010)
นักจิตบำบัด ดร. Barton Goldsmith กล่าวว่า “ผมได้รู้จักคนจำนวนมากที่สามารถพัฒนาความรักให้ตัวเองได้ หลังจากมีคนรักเข้ามาในชีวิตและทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่า … สำหรับหลายๆ คน ความรักดีๆ นี้เบ่งบานเป็นความสัมพันธ์ที่ดีและยืนยาว” และ “สำหรับบางคน มันกลายเป็นประสบกา รณ์และบทเรียนที่ดี ที่ทำให้พวกเขาริเริ่มค้นหาจุดมุ่งหมายในชีวิตของตัวเอง ที่นำไปสู่ความเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริงในเวลาต่อมา”
สำหรับใครก็ตามที่มองว่า การรักตัวเองเป็นเรื่องยาก การได้รับความมั่นใจและการสนับสนุนจากคนรักหรือครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมากในกระบวนการเยียวยารักษา ถ้าเราสามารถช่วยเตือน ให้ใครบางคนที่รักหรือยอมรับตัวเองได้ยาก (Self-acceptance) ว่าเขาหรือเธอคู่ควรกับการได้รับความร ักความเข้าใจ และได้มีความสัมพันธ์ที่ดี ถือว่าคุณให้ของขวัญที่ดีที่สุดกับพวกเขาเลย
บทความนี้แปลและดัดแปลงมาจากเว็บไซต์ Psychology Today เขียนโดย Barton Goldsmith, Ph.D., LMFT และ April Eldemire, LMFT
อ้างอิง:
[1] https://www.psychologytoday.com/us/blog/emotional-fitness/201001/you-dont-need-love-yourself-first
[4] https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC8480662/
[5] https://www.parentingstyles.com/child-psychology/attachment-style/
[6] https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0191886909000579?via%3Dihub
[7] https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC10487025/
[8] https://www.attachmentproject.com/blog/be-kind-to-yourself/