บทความจิตวิทยา
เมื่อใจสั่นไหว... เ หตุการณ์แผ่นดินไหวส่งผลกระทบกับเราอย่างไร?
เหตุการณ์สะเทือนใจ (Traumatic event) คือ ประสบการณ์ที่น่ากลัว น่าตกใจ หรือเป็นอันตรายกับตัวเรา ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจ หรืออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และร่างกายของเรา เหตุการณ์สะเทือนใจอาจเป็นไปได้หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ภัยธรรมชาติ (เช่น พายุเฮอริเคน แผ่นดินไหว และน้ำท่วม) เจอความรุนแรง (เช่น การทำร้าย การทารุณกรรม การโจมตีของผู้ก่อการร้าย และเหตุกราดยิง) อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรืออุบัติเหตุอื่นๆ
เมื่อ Self-esteem สูงเกินไป อาจทำลายความสัมพันธ์
เราคงได้ยินกันมาเสมอว่า การเห็นคุณค่าตัวเอง (Self-esteem) เป็นเรื่องที่ดี …แต่ Self-esteem ที่สูงเกินไป อาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ หากเราไม่มีการตระหนักรู้ในตัวเองที่ดี (Self-awareness) มาคอยกำกับ เช่น การให้คุณค่าหรือการนับถือตัวเองแบบเกินพอดีนี้ อาจกลายเป็น “ความหลงตัวเอง” (Narcissism) และงานวิจัยยังพบอีกว่า คนที่มี Self-esteem สูง มักลดคุณค่าคนรัก หรือมองว่าอีกฝ่ายไม่มีคุณค่ามากพอให้มานั่งพิจารณา และเลือกที่จะจบความสัมพันธ์เมื่อมีปัญหา มากกว่าหาทางรับมือร่วมกันแบบสร้างสรรค์
เมื่อ Self-esteem ต่ำเกินไป ทำให้เราไม่รักกัน และไม่รักตัวเอง
มีหลักฐานจากงานวิจัยไม่น้อยว่า ความรู้สึกไร้ค่า (Worthlessness) และ ความเกลียดชังตัวเอง (Self-hatred) สามารถส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ได้ คนที่มี Self-esteem ต่ำ มักจะประเมินความรักของคนรักต่ำกว่าความเป็นจริง และมักมองคนรักของตัวเองในแง่ลบ สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่าจะมี "คนดี ๆ" มารักพวกเขาได้ คนที่มี Self-esteem ต่ำจึงมักไม่ค่อยพึงพอใจในความสัมพันธ์ของตัวเอง และมองอนาคตของความสัมพันธ์ในแง่ร้าย...
14 มีนาคม White Day: "มากกว่าการให้ของขวัญตอบแทน" จิตวิทยาของการให้และการได้รับ
หลายๆ คนคงรู้จักดีอยู่แล้วว่า “วันไวต์เดย์” (14 มีนาคม) เป็นวันที่เรา ให้ของขวัญตอบแทนคนรัก หลังที่เราได้รับมาในวันวาเลนไทน์ แต่รู้ไหมว่า?...การให้ในวัน White Day ไม่ได้ มีดี แค่เป็นเรื่องเทศกาลน่ารักๆ แต่ยังส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ และสุขภาพจิตใจของเราด้วย
“รักตัวเอง” ไม ่ต้องเริ่มที่ตัวเองเสมอไป
ไม่จำเป็นต้องรักตัวเองก่อนเสมอไป ความรักจากคนอื่นสามารถช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะรักตัวเองได้เช่นกัน คำกล่าวทางจิตวิทยาที่บอกว่า เราจะต้องเริ่มรักตัวเองก่อน ก่อนจะให้คนอื่นมารักเรา แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายๆ คน ก็เรียนรู้วิธีที่จะรักตัวเอง โดยการได้รับความรักจากคนอื่นมาก่อน...
Valentine’s Day คู่มือเอาตัวรอด ฉบับคนมีคู่: วันแห่งความรัก หรือวันแห่งการทะเลาะ
เข้าเดือนกุมภาพันธ์ วันแห่งความรักก็วนมาถึงอีกแล้ว… สำหรับคนโสดหลาย ๆ คน เราอาจแกล้งทำเป็นไม่สนใจเพื่อเอาตัวรอดให้ผ่านวันนี้ไปได้ แต่สำหรับคนมีคู่และกำลังมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนัก ก็อาจจะอยากแกล้งทำไม่สนใจไปแบบเดียวกัน แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะจริง ๆ แล้ว วันวาเลนไทน์ อาจสร้างโอกาสให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างคู่รักที่ตั้งความหวังในกันและกันเอาไว้สูง ได้มากกว่าวันธรรมดาทั่วไปเสียอีก
จริงหรือไม่? หากจะรักคนอื่น ต้องรักตัวเองให้เป็นก่อน
หลายคนคงเคยได้ยินกันบ่อย ว่าการจะรักใครได้จริงๆ ต้องเริ่มจากการรักตัวเองก่อน แต่คำพูดนี้มันจริงเท็จมา กน้อยแค่ไหนกัน? มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับไหม? หรือเป็นแค่คำพูดที่ฟังดูดี เพื่อปลอบใจตัวเองเท่านั้น? วันนี้ Mission On อยากชวนทุกคนมาหาคำตอบทางจิตวิทยาเบื้องหลังเรื่องราวของ “การรักตัวเอง” หรือ Self-love กัน
จิตวิทยาเบื้องหลัง New Year’s Resolution ข้อดีของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่คืออะไร?
ปีใหม่นี้ใครหลาย ๆ คนคงกำลังตั้งใจตั้งเป้าหมายปีใหม่กันอยู่ แม้จะเป็นธรรมเนียมที่คนนิยมทำกันมานาน แต่หลายคนก็คงอดคิดไม่ได้ว่าเป็นมันดูเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สำ เร็จ ลองมาเจาะลึกจิตวิทยาเบื้องหลัง New Year’s Resolutions กัน เพื่อดูว่าอะไรจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้
ทำไมเราต้องตั้ง New Year’s Resolution … และทำอย่างไรให้เราเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน?
เมื่อเราตั้งเป้าหมายปีใหม่ที่ใหญ่เกินไป และคาดหวังว่าเราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในทันที…มันก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ และทำให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะกลายเป็นนิสัยใหม่ ของเราในที่สุด
ทำไมเราถึงล้มเหลว? จิตวิทยาเบื้องหลังการตั้งเป้าหมายที่ไม่สำเร็จ
การก้าวเข้าสู่ปีใหม่ มีหลาย ๆ คนคงตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ หรือ New Year’s Resolution ไว้มากมาย ด้วยความหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้ ... น่าเสียดายที่การมองโลกในแง่บวกอย่างเดียว อาจไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการได้ ความจริง มีอะไรบ้างมาดูกัน
ตั้งเป้าหมายด้วยความเข้าใจ New Year's Resolutions สำเร็จได้อย่างยั่งยืน (Part 2)
เคล็ดลับที่น่าสนใจคือ สมองส่วนหุนหันพลันแล่นของเรา ไม่ได้สื่อสารเป็นประโยค แต่สื่อสารเป็นเงื่อนไข เช่น “ถ้าฉันเห็นสิ่งนี้ … ฉันจะทำแบบนี้” มาดูกันว่าเราจะใช้สูตรโกงอย่างไร เพื่อให้เราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ โดย ไม่ต้องฝืนต่อสู้กับสมองส่วนหุนหันพลันแล่น
ตั้งเป้าหมายด้วยความเข้าใ จ New Year's Resolutions สำเร็จได้อย่างยั่งยืน (Part 1)
หลาย ๆ คนคุ้นเคยกับการตั้ง New Year’s Resolutions หรือเป้าหมายในช่วงปีใหม่ ด้วยความตั้งใจที่ดี แต่สุดท้ายก็มักจะล้มเหลวไม่เป็นท่าภายในไม่กี่สัปดาห์ คำถามคือทำไมการตั้งเป้าหมายของเราถึงล้มเหลว และเราควรจะทำอย่างไรเพื่อช่วยให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จ?
Toxic Family ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษในครอบครัว ... รับมืออย่างไรในช่วงปีใหม่ (Part 1)
Toxic Relationship ในครอบครัว คือรูปแบบความสัมพันธ์ที่สร้างความเสียหายทางด้านจิตใจ ซึ่งสามารถแสดงออกในหลายรูปแบบ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง การควบคุม การขาดควา มเห็นอกเห็นใจ การไม่เคารพขอบเขตพื้นที่ส่วนตัว ความรู้สึก หรือความต้องการ การเพิกเฉย การใช้ความรุนแรง (ทางคำพูด ทางกายภาพ หรือทางอารมณ์) การสร้างความรู้สึกผิดและละอาย หรือ Gaslighting ซึ่งล้วนส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว
การบำบัดแบบ Brainspotting
BSP นั้นย่อมาจาก Brainspotting Therapy เป็นการบำบัดที่ถูกพัฒนาเพื่อจัดการกับบาดแผลทางใจที่ไม่สามารถจัดการได้ หรือที่เรียกกันว่า Unprocessed Trauma อาศัยรูปแบบการมองหรือใช้สายตา ซี่งการบำบัดนี้อาจทำให้เกิดการระลึกถึงความทรงจำ ความคิด ความรู้สึก สัมผัสทางกาย หรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในอดีตกับบาดแผลทางใจนั้นๆ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดจัดการกับบาดแผลทางใจในรูปแบบที่แตกต่างไป หรือทำการจัดการ Trauma Blocking เพื่อให้เราเข้าถึงทรัพยากรด้านบวก (Resource) ของเราที่สมองเรามีอยู่ได้
การบำบัดแบบ CBT
CBT นั้นย่อมาจาก Cognitive Behavioral Therapy หรือ การบำบัดความคิดและพฤติกรรม เป็นการบำบัดรูปแบบหนึ่งที่มีงานวิจัยรองรับมากมายว่ามีประสิทธิภาพและสามารถช่วยเหลือปัญหาที่หลากหลาย การบำบัดนี้ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจถึงความคิด ความเชื่อ หรือการรับรู้ของตนเองในสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกับอารมณ์ ร่างกาย ความคิดต่อยอด และการกระทำ โดยใช้กระบวนการถามตอบเพื่อสำรวจและทดสอบความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล การปรับพฤติกรรม และการจัดการร่างกายของผู้รับการบำบัดให้สอดคล้องและสมดุลกับความเป็นจริงของปัจจัยในชีวิตขอ งแต่ละคน
การบำบัดแบบคู่ (Couple therapy)
การบำบัดแบบคู่ (Couple therapy) เป็นการบำบัดเพื่อช่วยเหลือคู่รักที่มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่เกิดจากการขัดแย้งไม่เข้าใจกันทาง ความคิด ทัศนคติ เซ็กส์ นิสัย พฤติกรรม สิ่งที่ต่างๆ ที่ส่งผลต่อความรู้สึกของอีกฝ่าย เป็นต้น นักบำบัดจะเป็นคนกลางที่สะท้อนความคิดและความรู้สึกของอีกฝ่ายเพื่อให้เข้าใจอีกฝ่ายมากยิ่งขึ้น
การปรึกษา จิตบำบัด
การปรึกษา (Counselling) หรือ จิตบำบัด (Therapy หรือ Psychotherapy) คือการให้คำปรึกษาบำบัด หลายครั้งผ่านการพูดคุยร่วมกันกับนักจิตบำบัดหรือนักจิตวิทยาการปรึกษาเพื่อหาทางออกและจัดการปัญหาร่วมกันในรูปแบบการบำบัดที่ผู้เข้าปรึกษาต้องการ ซึ่งสิ่งที่คุยกันในชั่วโมงบำบัดจะถูกเก็บเป็นความลับ (อ่านเงื่อนไขและข้อกำหนด) ซึ่งระยะเวลาการบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับ ปัญหา วิธีการบำบัด ผู้รับการบำบัด และความเหมาะสม
การบำบัดแบบ EMDR
การบําบัดแบบ EMDR นั้นมีเป้าหมายในการจัดการความทรงจำที่เป็นบาดแผลทางใจ เรื่องฝังใจ หรือปมในใจ หรือเกิดจากเหตุสะเทือนขวัญบางอย่างในอดีตซึ่งมีผลกระทบจากเหตุการณ์อยู่ถึงปัจจุบัน ให้คลี่คลายอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ โดยช่วยให้ความทรงจำในอดีตนั้นได้ถูกจัดเก็บอย่างปกติในสมองจนกลายเป็นเพียงเรื่องในอดีตได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เรื่องเหล่านั้นไม่มีผบกระทบด้านลบในปัจจุบันอีกต่อไป