top of page

เมื่อ Self-esteem ต่ำเกินไป ทำให้เราไม่รักกัน และไม่รักตัวเอง

(Self-esteem and Relationship Part 1)

ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างการเห็นคุณค่าในตัวเองและความรัก



เรามักได้ยินกันมาเสมอว่าการเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-esteem) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีความสัมพันธ์ที่ดี คือ ถ้ารักตัวเองไม่เป็น เราจะสามารถไปรักคนอื่นอย่างแท้จริงได้อย่างไร?


งานวิจัยยังสนับสนุนด้วยว่า ความรู้สึกของเราที่มีต่อตัวเอง สามารถส่งผลต่อความรู้สึกที่เรามีต่อคนอื่นได้ด้วย (และในทางกลับกัน คือ มุมมองที่ผู้อื่นมีต่อเรา ก็อาจส่งผลต่อมุมมองที่เรามีต่อตนเองได้เช่นกัน) แต่มันมีความเชื่อมโยงที่ซับซ้อนมากกว่านั้น


มีหลักฐานจากงานวิจัยไม่น้อยว่า ความรู้สึกไร้ค่า (Worthlessness) และ ความเกลียดชังตัวเอง (Self-hatred) สามารถส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ได้ คนที่มี Self-esteem ต่ำ มักจะประเมินความรักของคนรักต่ำกว่าความเป็นจริง และมักมองคนรักของตัวเองในแง่ลบ


เช่น เพราะฉันไม่มีค่า > เธอเลยไม่โทรหาฉัน / เขาไม่รักฉัน เป็นต้น
(…ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย…)


สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่าจะมี "คนดี ๆ" มารักพวกเขาได้ คนที่มี Self-esteem ต่ำจึงมักไม่ค่อยพึงพอใจในความสัมพันธ์ของตัวเอง (Erol & Orth, 2014) และมองอนาคตของความสัมพันธ์ในแง่ร้าย (Hutz et al., 2014




เพราะสงสัยในคุณค่าตัวเอง จึงระแวงคนรอบข้างเช่นกัน


นอกจากนี้ คนที่สงสัยในคุณค่าของตัวเองมักจะวิตกกังวลว่าจะถูกปฏิเสธ (Berenson, 2006 , VeryWellMind.com) และเฝ้าดูพฤติกรรมของคนรักอย่างระแวงเพื่อหาสัญญาณว่าตัวเองจะต้องถูกปฏิเสธ (Dandeneau & Baldwin, 2004) บางครั้งก็ตีความการกระทำของคนรักผิด ๆ ว่ามองเราเป็นศัตรูและไม่ยอมรับเรา (Downey et al., 1998) อะไรแบบนี้เป็นต้น




มองความสัมพันธ์ในแง่ลบ แต่ก็เลือกรักคนไม่ดีด้วย


คนที่ไม่รักตัวเอง ไม่ใช่แค่มองความสัมพันธ์ในแง่ลบเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นคนเลือกความสัมพันธ์ที่ไม่ดีมาตั้งแต่แรก เป็นคนเลือกเอง และยึดติดเอง ที่จะอยู่กับคนรักที่อาจจะทำนิสัยไม่ดีกับพวกเขา



งานวิจัยเกี่ยวกับ Self-Verification พบว่า คนที่มีมุมมองด้านลบต่อตัวเองมักจะดึงดูดคนที่มองพวกเขาในแบบที่พวกเขาเห็นตัวเอง คือมองในแง่ลบ 


นอกจากนี้ยังพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ เชื่อมโยงกับ ความรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความสุข ซึ่งอาจนำไปสู่การยอมทนให้ตัวเองถูกปฏิบัติไม่ดีต่อไปเรื่อย ๆ หรืออย่างที่เราเห็นกันในหนังสือพิมพ์บ่อย ๆ ว่า ทำไมบางคนยอมอยู่ในความสัมพันธ์ที่ตัวเองถูกทำร้าย ทุบตี หรือโดนใช้ถ้อยคำรุนแรง โดยไม่ยอมตอบโต้ หรือเดินออกจากความสัมพันธ์



แปลและดัดแปลงจากบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ Psychology Today เขียนโดย Juliana Breines, Ph.D.


อ้างอิง:


 



รู้จักกับนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด



นัดพบนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด


bottom of page