top of page

สิ่งที่เราอาจสงสัยเกี่ยวกับ “การพูดคุยกับนักจิตฯ” การเดินทางสำรวจและปลดล็อกใจ

(Talk It Out Part 2)


เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนแห่งการตระหนักรู้ถึงสุขภาพจิต
#MentalHealthAwarenessMonth

หลายๆ คนคงเคยสงสัยกันว่าการเปิดใจคุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัดเป็นอย่างไร หรือให้ผลดีกับเราอย่างไร? เพราะไม่รู้ว่าควรคาดหวังอะไร หรือรู้สึกอย่างไร และจะได้เจออะไรบ้างในการบำบัด เมื่อเราเปิดใจพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด เหมือนการออกเดินทางไปในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย


…ที่ช่วงเริ่มต้น เราอาจรู้สึกไม่สบายใจ แต่ก็โล่งใจ รู้สึกเหนื่อยล้า แต่ก็มีความสุข…

แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะได้รับแน่นอนจากการบำบัด คือเราอนุญาตให้ตัวเองได้เปิดใจและซื่อสัตย์ต่อตัวเอง รวมทั้งต่อนักจิตฯ กระบวนการที่เราได้เปิดใจพูดคุยในห้องบำบัดจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น เพราะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตัวเอง ช่วยลดความเครียด และเรียนรู้วิธีการรับมือที่ดีต่อสุขภาพกายและใจของเรา นอกจากนี้ยังช่วยให้เราจัดการกับบาดแผลในอดีตได้เยียวยาและฟื้นตัวจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้ 




การเดินทางของการบำบัดอาจเป็นถนนที่คดเคี้ยว


"สิ่งสำคัญที่ควรรู้ คือการบำบัดอาจจะไม่ได้ทำให้รู้สึกดีเสมอไป "

การพูดคุยในกระบวนการบำบัดจิตใจ อาจช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้จริง ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่บ่อยครั้งเราอาจไม่รู้สึกถึงประโยชน์ในทันที เพราะบางครั้งการบำบัดอาจทำให้ “รู้สึกไม่สบายใจ” ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เราเผชิญ หรือสิ่งที่เรานำมา “คลี่คลายออก” ในกระบวนการบำบัด (นักจิตบำบัด Bisma Anwar, LPC, LMHC)



แต่ถ้าเราสามารถเข้ารับการบำบัดได้สม่ำเสมอ นำคำแนะนำมาปฏิบัติตามได้อย่างต่อเนื่อง เราจึงค่อยๆ เห็นประโยชน์

ตัวอย่างเช่น เริ่มสังเกตเห็นว่าตัวเราตอบสนองได้เหมาะสมมากขึ้นเมื่อเจอความเครียด และมีวิธีสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น อารมณ์ลบๆ มีอำนาจเหนือเราน้อยลงเพราะเราเข้าใจดีว่า สิ่งเหล่านี้มีที่มาจากไหน และต้องรับมือกับมันอย่างไร?


ในระยะยาว การพูดคุยกับนักจิตฯ หรือนักจิตบำบัดจะช่วยนำทางให้เราเห็นบทเรียนในอดีต เข้าใจปัจจุบัน และสามารถวางแผนเส้นทางในอนาคตข้างหน้าได้อย่างเหมาะสม 



“การบำบัด คือการเดินทางสู่การตระหนักรู้ในตนเอง ได้เยียวยา และเติบโต”

ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเรา โดยเฉพาะในเวลาที่เราต้องเจอกับความท้าทายต่างๆ เหมือนเรามีเข็มทิศที่ช่วยให้เราควบคุม กำหนดทิศทางชีวิตของเราด้วยตัวเราเองได้ดีขึ้น


"การสร้างพื้นที่ปลอดภัย หรือการจัดพื้นที่สำหรับอารมณ์ใดๆ ก็ตาม" ที่เราได้เรียนรู้จากการบำบัด คือวิธีการที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง เพื่อให้เราเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของตัวเอง รู้วิธีการรับมือ และสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพจิตใจ ซึ่งช่วยให้เรารู้สึกดี และใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด




โพสต์นี้แปลและดัดแปลงบทความบางส่วนมาจากเว็บไซต์ Talkspace.com

บทความเรื่อง Talk It Out Therapy เขียนโดยนักจิตบำบัด Bisma Anwar, LPC, LMHC


อ้างอิง:

[1] Talkspace.com


 



รู้จักกับนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด



นัดพบนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด



bottom of page