14 มีนาคม White Day
“มากกว่าการให้ของขวัญตอบแทน”
จิตวิทยาของการให้และการได้รับ
ทำไมต้อง...White Day
หลายๆ คนคงรู้จักดีอยู่แล้วว่า “วันไวต์เดย์” (14 มีนาคม) เป็นวันที่เรา ให้ของขวัญตอบแทนคนรัก หลังที่เราได้รับมาในวันวาเลนไทน์ แต่รู้ไหมว่า?...การให้ในวัน White Day ไม่ได้ มีดี แค่เป็นเรื่องเทศกาลน่ารักๆ แต่ยังส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ และสุขภาพจิตใจของเราด้วย
ทำไมต้อง “รับและให้คืน”
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchange Theory) บอกเราว่า เราทุกคนมัก ชั่งน้ำหนัก ว่า "ให้" และ "รับ" อะไรบ้าง ใน ความสัมพันธ์หนึ่งๆ เมื่อเรารู้สึกว่า ได้รับมากกว่าที่ให้ เราจะ รู้สึกดี และ อยากรักษาความสัมพันธ์ นั้นไว้
ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้สึกว่า ให้มากไป แต่ ได้รับน้อยไป
เร าอาจรู้สึกว่าผลตอบแทน “ไม่คุ้มค่า” กับต้นทุนที่ต้องจ่าย และรู้สึก ไม่พึงพอใจ กับความสัมพันธ์นั้นๆ
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต้องการอย่างน้อย 2 ฝ่าย ที่มาแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ที่อีกฝ่ายต้องการ ดังนั้นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เราต้องมีอะไรที่ "ดีมากพอ" มาแลกเปลี่ยน จึงทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่พึ่งพากันและกัน (Emerson, 1976, Redmond, 2015)
ทำไมต้อง “ให้ตอบแทนคืน”
เป็น norm หรือ “บรรทัดฐานทางสังคม” ที่เราเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ ว่า ถ้ามีคนให้อะไรมา เราควรให้ตอบแทนกลับไป (Reciprocity) มันคือความรู้สึก ติดค้าง เมื่อมีคนทำดีกับเรา เราจะรู้สึกว่าต้องตอบแทนความดีนั้น ไ ม่ว่าจะด้วยการให้ของขวัญ การช่วยเหลือ หรือแค่คำขอบคุณ
ดังนั้น เราจึงอยากตอบแทนเมื่อ ได้รับความช่วยเหลือ ความปรารถนาดี หรือแม้แต่ ความรักและห่วงใย จากใครสักคน และมันทำให้เรายิ่งผูกพันกันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมากขึ้น (The Norm of Reciprocity; Gouldner, 1960, Brown et al., 2003)
“ผู้ให้” ไม่ได้เสียประโยชน์อย่างที่คิด … แต่ให้มากเกินไปก็ไม่ดี
เพราะงานวิจัยพิสูจน์แล้วว่า การให้ลดความเครียดและเพิ่มความสุขได้จริง (Inagaki & Orehek, 2017, Nelson et al. 2016)
การให้ช่วย ลดกิจกรรม ทางระบบประสาทที่เกี่ยวกับ ความเครียด ในสมองส่วน Amygdala (Inagaki & Eisenberger, 2012)
งานวิจัยพบว่าการที่เราใช้เงินไปกับการให้คนอื่น กระตุ้นความสุขได้มากกว่า ใช้เงินเพื่อตัวเองเสียอีก (Aknin et al., 2020, Apa.org)
การให้ หรือ การทำสิ่งดีๆ ให้คนอื่นช่วย เพิ่มความสุขแก่ผู้ให้ (Helper’s high) เพราะร่างกายเราจะหลั่งสาร Endorphins (Inagaki & Orehek, 2017, Nelson et al. 2016)
แต่ถ้าให้มากไป จนเกินความสบายใจ
ที่จะให้ได้ เราอาจ ทุกข์มากกว่าสุข นะ
(Maier et al., 2015)
“ได้รับอย่างเดียว…อาจไม่สุขอย่างที่คิด”
เมื่อได้รับมาแล้วเราไม่สามารถ...มอบคืนให้ได้ โดยเฉพาะเมื่อได้รับการสนับสนุน ด้านอารมณ์หรือสิ่งของจากคนรัก เราอาจเกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือเป็นทุกข์ เช่น
รู้สึกว่าตัวเองไร้ประสิทธิภาพ
เกิดความรู้สึกไม่ดีที่ต้องพึ่งพาคนอ ื่น
และ รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ
(Fisher et al., 1982, Walster et al., 1976)
เพราะได้รับมา...แล้วให้คืน ความสัมพันธ์เราจึงดีต่อใจ
ในทางกลับกัน หากเราสามารถ มีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ คือ ได้รับมาและ ให้ตอบแทนคืนได้ เราจะรู้สึกว่า ตัวเองสำคัญ เป็นที่ต้องการ และรับรู้ว่าเรา มีความสามารถเพ ียงพอ ที่จะสร้างและรักษาความสัมพันธ์หนึ่งๆ เอาไว้ได้ (Fisher et al., 1982, Walster et al., 1976)
เป็นผู้ให้และรับอย่าง “สมดุล”
งานวิจัยถึงขั้นศึกษาว่า รูปแบบการให้และรับแบบใด ที่ส่งผลดีที่สุดต่อสุขภาวะของเรา? ผลคือ คนที่รับรู้ว่าตัวเอง “ได้รับ พอๆ กับ ให้คืน” เป็นกลุ่มที่มี สุขภาวะที่ดี มากที่สุด (Reciprocal exchanges and well-being; Nahum-Shani et al., 2011)
ได้รับ สมดุลกับ การให้ = ส่งผลดีต่อสุขภาวะ
การให้ มากกว่า ได้รับ = ส่งผลดีรองลงมา
ได้รับ มากกว่า การให้ = ส่งผลเสียต่อสุขภาวะ
“ให้และรับ” อย่างสมดุล
ความสัมพันธ์เราจึงดีต่อใจ
งานวิจัยเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ที่มีการให้และรับที่สมดุล โดยเฉพาะในคู่รักพบว่า มีอารมณ์ลบเกิดขึ้น เมื่อผู้รับไม่สามารถให้การตอบแทนคืนได้ ผลทางลบนี้สามารถลดลงได้ โดย สร้างสมดุลการให้และรับ (Supportive Equity, Gleason et al., 2003) …แต่การให้ จะส่งผลดีกับผู้ให้มากกว่า เพราะช่วยสร้างอารมณ์บวกและลดอารมณ์ลบของผู้ให้
การให้และรับที่สมดุลจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจและความสัมพันธ์ของเรา ดังนี้
รับรู้ความสามารถ และเห็นคุณค่าของตัวเอง
รู้สึกสนิทสนมใกล้ชิดกันมากขึ้น
รู้สึกถูกเติมเต็ม เนื่องจากได้ Support คนรัก
ลดความรู้สึกไม่ดี ว่าเราต้องพึ่งพาคนอื่น
รู้สึกสมดุลในความสัมพันธ์ (Sense of balance)
(Gleason et al., 2003)
แปลและดัดแปลงจากบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ Psychology Today.com เขียนโดย Sherrie Bourg Carter, Psy.D., Simplypsychology.com และ Verywellmind.com เขียนโดย Kendra Cherry, MSEd
อ้างอิง
[1] Apa.org
[2] Psychology Today.com
[4] Verywellmind.com
[7] Emerson, 1976
[10] Gouldner, 1960
[11] Inagaki & Eisenberger, 2012
[13] Maier et al., 2015
[15] Nelson et al. 2016
[16] Redmond, 2015
[17] Walster et al., 1976