top of page

จิตวิทยาเบื้องหลัง New Year’s Resolution ข้อดีของการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่คืออะไร?


ปีใหม่นี้ใครหลาย ๆ คนคงกำลังตั้งใจตั้งเป้าหมายปีใหม่กันอยู่ แม้จะเป็นธรรมเนียมที่คนนิยมทำกันมานาน แต่หลายคนก็คงอดคิดไม่ได้ว่าเป็นมันดูเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สำเร็จ ลองมาเจาะลึกจิตวิทยาเบื้องหลัง New Year’s Resolutions กัน เพื่อดูว่าอะไรจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้





ผลสำรวจล่าสุดจาก Forbes Health ในปี 2024 ที่ทำการสำรวจทัศนคติของผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 1,000 คน ที่มีต่อการตั้งเป้าหมาย New Year’s Resolutions เผยให้เห็นว่า ประเภทของเป้าหมายที่พวกเขาให้ความสำคัญ หรือนำมาใช้เขียน New Year’s Resolutions นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก


แม้ว่าเป้าหมายที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายและการลดน้ำหนักจะยังคงเป็นที่นิยมสำหรับช่วงปีใหม่ แต่ผลวิจัยบอกว่า

  • 36% ของผู้เข้าร่วมวิจัยแสดงความมุ่งมั่นที่จะดูแลสุขภาพจิตใจ

  • 55% ยอมรับว่าควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตใจพอ ๆ กับสุขภาพร่างกาย


ดังนั้นตั้งแต่ปี 2024 มานี้ การให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตใจ จึงน่าจะเป็นจุดสนใจสำหรับใครหลาย ๆ คน



อะไรคือแรงผลักดันที่ทำให้คนเราตั้งเป้าหมายและสนใจ New Year’s Resolutions?


แม้ว่าคำตอบอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่มีเหตุผลทั่วไปบางประการที่คล้ายคลึงกันอยู่ วันนี้ Mission On ชวนคุณมาคำตอบกัน ว่าอะไรคือแรงผลักดันที่ทำให้เราอยากตั้งเป้าหมายในช่วงเริ่มต้นปี


  • อยากเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ

    การเริ่มต้นใหม่ (Fresh Start Effect) ในช่วงเวลาสำคัญต่างๆ เช่น การเริ่มต้นปีใหม่ กระตุ้นให้เรามีแรงบันดาลใจในการตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ เป็นโอกาสที่ทำให้เราอยากจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และการกำหนดกรอบเวลาหรือระยะเวลา (Time Frame) จะช่วยทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น 


    งานวิจัยเกี่ยวกับ Fresh Start Effect แสดงให้เห็นว่า ไอเดียในการกดปุ่มรีเฟรชตัวเองให้ลงมือทำตามเป้า โดยมีกรอบเวลามากำกับในช่วงปีใหม่นี้ ช่วยให้เราทิ้งความไม่สมบูรณ์แบบในอดีตไว้เบื้องหลัง และกระตุ้นให้เรามีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเราได้มากกว่า การทำตามเป้าหมายแบบที่ไม่กำหนดกรอบเวลา





  • จุดมุ่งหมายและแรงจูงใจ (Purpose and Motivation)

    การตั้งเป้าหมายช่วยให้เราเห็นทิศทางและจุดหมายปลายทาง ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแรงปรารถนา หรือความต้องการของเราที่อยากจะพัฒนาและเติบโตขึ้น แรงจูงใจภายในนี้สอดคล้องกับ ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่พูดถึงแรงขับเคลื่อนตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่บอกว่าการบรรลุเป้าหมายช่วยให้เรารู้สึกถูกเติมเต็ม (Fulfillment) และเกิดการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-actualization)







  • พัฒนาการทำงานของสมองส่วน EF (Executive function)

    การตั้งเป้าหมายยังเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานในสมองของมนุษย์ และทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น เนื่องจากมันทำให้เราสามารถวางแผนและดำเนินการลงมือทำตามเป้าหมายที่วางไว้ได้




  • รางวัลที่ดีต่อใจและโดปามีน (Reward center and dopamine)

     การตั้งเป้าหมายช่วยกระตุ้นการหลั่งโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกดี โดปามีนนอกจากจะช่วยทำให้เรามีความสุขและทำให้สมองของเรารู้สึกเสมือนได้รับรางวัลบางอย่างแล้ว มันยังช่วยให้เราสามารถกำกับควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นด้วย 


    นักวิจัยพบว่า การลงมือทำตามเป้าหมาย สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่ออารมณ์ของเรา เนื่องจากมันกระตุ้นศูนย์กลางความสุขในสมอง (โดยไม่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์ว่าเราจะทำสำเร็จหรือไม่สำเร็จ) สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการไล่ตามเป้าหมายนั้นสำคัญพอ ๆ กับการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวที่เรารู้จักกันดีว่า …


"ระหว่างทาง" อาจจะสำคัญมากกว่าหรือพอ ๆ กับ "ปลายทาง"
หากเราได้สนุกและมีความสุขไปกับมัน




อ้างอิง:

แปลและดัดแปลงบทความบางส่วนมากจากเว็บไซต์ VeryWellMind.com เขียนโดย Cynthia Vinney, PhD


 



รู้จักกับนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด



นัดพบนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด


bottom of page