top of page

ความเครียดจากงาน “ไม่ได้บั่นทอนแค่ตัวเรา” แต่กระทบสุขภาพจิตใจของคนที่บ้านด้วย

(Stress Spillover Part 2)


จากบทความก่อนหน้า งานวิจัยบอกเราว่า Work-Life Conflict ที่ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งจาก “งานสู่ครอบครัว” และ “ครอบครัวสู่ที่ทำงาน” ทั้ง 2 ประเภทนี้ล้วนสร้างความเครียดให้เรา


แต่รู้ไหมว่า ความเครียดที่ท่วมท้นนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเราคนเดียว แต่อาจส่งผ่านไปสู่คนที่รอเราอยู่ที่บ้านด้วย

Mission On มีแนวคิดจิตวิทยาที่อธิบายเรื่องนี้ได้ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ...


จิตวิทยาเบื้องหลังความเครียดที่ล้นมาสู่คนที่บ้าน

แนวคิด Spillover-Crossover ที่พัฒนาโดย Drs. Arnold Bakker และ Evangelia Demerouti ช่วยทำให้เราเห็นภาพว่า “ความขัดแย้งในเรื่องงาน-ชีวิตส่วนตัว” (Work-Life Conflict) ส่งผลอย่างไรกับเรา


เมื่องาน ทำให้เรารู้สึกเครียดอย่างท่วมท้นจนความเครียดนี้ “ล้นออก” (Spillover) มากระทบชีวิตส่วนตัวไปจนถึง “ส่งผ่าน” (Crossover) ผลกระทบลบๆ ไปทำลายสุขภาวะที่ดีของคนรอบข้าง ในบ้านของเราด้วย





  1. Spillover (เครียดจนล้น)

    เป็นประสบการณ์ความเครียด ที่เกิดขึ้นกับคนๆ หนึ่ง มักเกิดขึ้นเมื่อเรานำ “ความเครียดจากที่ทำงาน” กลับมาที่บ้านด้วย จนลงท้ายด้วยการ


    ✅ เอางานกลับมาทำที่บ้าน


    ✅ หรือ มีความกังวลและคิดวนเวียนถึงเรื่องงาน แม้ว่าจะอยู่ที่บ้าน


    แนวคิด Spillover นี้บอกเราง่ายๆ ว่า "เรามักไม่ยอมวางเรื่องงาน" ให้จบไว้แค่ที่ทำงาน และแทนที่นอกเวลางานเราควรจะได้จดจ่อกับชีวิตส่วนตัว เช่น ได้พักผ่อน ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ชอบ ทำงานบ้าน ได้ใช้เวลากับครอบครัวหรือคนรอบข้าง เมื่อไม่อยู่ที่ทำงาน


    แต่เรากลับลงเลยด้วยการจดจ่อกับงานแทน


  2. Crossover (เครียดจนส่งผ่านไปสู่คนอื่น)

    เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์ของคน 2 คน หรือมากกว่า เกิดขึ้นเมื่อ ความเครียดจากงานที่เรานำกลับบ้าน "เริ่มส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง" เช่น คนรัก หรือคนในครอบครัว

    หรือ "ส่งผ่าน" ความเครียดจากงานของเราไปสู่คนอื่นๆ จนมีผลกระทบต่อสุขภาวะ (Well-being) ของคนอื่น

    สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะ งานวิจัยพบว่า เราสามารถถ่ายทอด "อารมณ์ลบๆ" หรือแม้แต่ "ภาวะหมดไฟ" (Burnout) ไปสู่คนรอบข้างได้

    นักวิจัยพบว่า การที่เราต้องเจอกับ คนรักที่มีภาวะหมดไฟ จะเพิ่มโอกาสให้เรามีภาวะหมดไฟด้วยเช่นกัน

    และแนวคิดนี้ยังบอกด้วยว่าความเครียดที่ Spillover มาสู่ความสัมพันธ์ของเรา สามารถนำไปสู่ Crossover ได้ในที่สุด...


    งานวิจัยที่ศึกษาในคู่รักที่มีรายได้ทั้งคู่ พบว่า ความคาดหวังในงานที่สูง (Job Demands) นำไปสู่ Work-family conflict ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภรรยา ที่ได้รับความกดดันจากงาน ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าเพิ่มมากขึ้น จนส่งผ่านไปสู่สามี


    และสุดท้ายส่งผลกระทบลบๆ ต่อความสัมพันธ์ของคู่รัก เพราะทำให้มีความพึงพอใจในชีวิตที่ลดลง



(Bakker & Demerouti, 2013, Demerouti et al., 2005, Greenhaus & Powell, 2006)



แปลและดัดแปลงจากบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ Psychology Today

เขียนโดย Elizabeth Dorrance Hall, Ph.D.,


อ้างอิง:

[1] Psychology Today

[2] Bakker & Demerouti (2013)

[3] Demerouti et al. (2005)

[4] Greenhaus & Powell (2006)


 



รู้จักกับนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด



นัดพบนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัด


bottom of page