การปรึกษา หรือ จิตบำบัดคืออะไร?
การปรึกษา (Counselling) หรือ จิตบำบัด (Therapy หรือ Psychotherapy) คือการให้คำปรึกษาบำบัด หลายครั้งผ่านการพูดคุยร่วมกันกับนักจิตบำบัดหรือนักจิตวิทยาการปรึกษาเพื่อหาทางออกและจัดการปัญหาร่วมกันในรูปแบบการบำบัดที่ผู้เข้าปรึกษาต้องการ ซึ่งสิ่งที่คุยกันในชั่วโมงบำบัดจะถูกเก็บเป็นความลับ (อ่านเงื่อนไขและข้อกำหนด) ซึ่งระยะเวลาการบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับ ปัญหา วิธีการบำบัด ผู้รับการบำบัด และความเหมาะสม
การปรึกษาบำบัดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
การปรึกษาบำบัดแบบเดี่ยว (Individual Therapy)
การปรึกษาบำบัดออนไลน์ (Online Therapy)
การปรึกษาบำบัดแบบครอบครัว (Family Therapy)
การปรึกษาบำบัดแบบคู่รัก (Couple Therapy)
เซ็กส์บำบัด (Sex Therapy)
ทำไมถึงต้องมาปรึกษาหรือบำบัด?
เพราะคนโดยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาทางด้านจิตใจ ทำให้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจนทำให้ปัญหาร้ายแรงมากขึ้น การทำจิตบำบัดไม่จำเป็นว่าเรื่องที่เข้ามาทำจะต้องเป็นเรื่องที่รุนแรงเสมอไป เพราะการช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มจะช่วยลดปัญหาร้ายแรงที่ตามมาได้ ซึ่งการทำจิตบำบัดจะช่วยผู้รับบำบัดในการจัดการความไม่สบายใจ อารมณ์ ความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความทรงจำที่รบกวนได้
ประโยชน์ของการปรึกษาหรือบำบัด
การมาพบนักจิตวิทยาเพื่อปรึกษาและบำบัดนั้นสามารถช่วยให้เรา:
รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น
เข้าใจกระบวนการความคิดของตัวเรา
รู้จักที่มาที่ไปของความเชื่อของเรา
เข้าใจการกระทำของตัวเองมากขึ้นทั้งสิ่งที่ทำโดยเจตนาหรือไม่มีเจตนา
ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิดและความเชื่อที่ส่งผลไม่ดีกับชีวิตของเรา
ตั้งเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตเป็น อยู่บนความเป็นจริง และทำได้จริง
แก้ไขบุคลิกหรืออะไรที่เราติดเป็นนิสัยที่เราอยากเปลี่ยน
สานสัมพันธ์กับคนรักและคนใกล้ตัวเรา เช่น คนรัก ครอบครัว พ่อแม่ พี่ น้อง ลูก เพื่อน คนที่ทำงาน หรือ หัวหน้า
เรียนรู้ทัศษะและวิธีรับมือกับอารมณ์และความรู้สึกของเราอย่างถูกต้อง
มีวิธีรับมือกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ตาม
สร้างแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้เราได้เดินในเส้นทางชีวิตที่เราต้องการ
ดูอินโฟกราฟฟิค (Infographic) แบบเต็มได้ที่ Instagram @missionon.official
ต้องบำบัดแบบไหนถึงจะดี?
แนวทางการบำบัดที่ดีควรจะเป็นการบำบัดที่ได้รับการยอมรับจากการวิจัยทั่วโลกว่าสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างเห็นผล
ส่วนใหญ่การทำจิตบำบัดจะไม่ได้ใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แต่จะใช้ร่วมกันหลายๆ วิธีเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงและเหมาะสมกับอาการมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ได้รับการรักษาและรับยาจากจิตแพทย์ หากได้เสริมด้วยการบำบัดจิตควบคู่กันไป จะส่งผลให้การรักษาเห็นผลเร็วขึ้น
ตัวอย่างวิธีการบำบัด
การบำบัดแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Person-centered Therapy)
การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-Behavioural Therapy)
การรักษาด้วยการยอมรับและความมุ่งมั่น (Acceptance and Commitment Therapy)
การบำบัดแบบ EMDR (Eye Movement Desensitisation and Reprocessing Therapy
การบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติ (Mindfulness Based Cognitive Therapy)
การบำบัดแบบแผนความคิด (Schema Therapy)
การบำบัดตามแนวคิดทฤษฎีทางอารมณ์ (Emotional Focused Therapy)
การบำบัดโดยการบรรยาย (Narrative Therapy)
คำถามที่พบบ่อย
ทุกคนที่เป็นนักจิตวิทยาสามารถให้คำปรึกษาหรือบำบัดได้ไหม?
นักจิตวิทยาที่สามารถให้คำปรึกษาหรือบำบัดได้จำเป็นที่จะต้องเป็นนักจิตวิทยาที่มีการศึกษา การฝึกฝน และความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและการบำบัดโดยเฉพาะ ดังนั้นไม่ใช่นักจิตวิทยาทุกคนจะสามารถให้คำปรึกษาหรือบำบัดได้
นอกจากนั้นนักจิตวิทยาการปรึกษาและนักจิตบำบัดที่ดีต้องมีความสามารถในการใช้รูปแบบการบำบัดต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับจากการวิจัยทั่วโลกว่าสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างเห็นผล
การมาพบนักจิตวิทยาแตกต่างจากการคุยกับครอบครัว เพื่อน หรือ คนอื่นอย่างไร?
สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนของการมาทำจิตบำบัดหรือปรึกษากับนักจิตวิทยาคือ ทักษะ รูปแบบทฤษฎี และเป้าหมายในการให้คำปรึกษาและบำบัดของนักจิตวิทยา
นักจิตวิทยาจะรับฟังเรื่องของผู้รับบำบัดอย่างเป็นกลางเสมอ จึงทำให้ผู้เข้ารับการปรึกษาสามารถเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างเปิดใจโดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตัดสิน
นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนมาช่วยเหลือผู้รับการบำบัด และการทำจิตบำบัดจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนตามที่ผู้รับบำบัดต้องการ ซึ่งการสื่อสารทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นจะอยู่บนทฤษฎีการบำบัดที่มีผลวิจัยรับรอง ไม่ว่าจะเป็นทุกคำถามหรือคำตอบ ภาษาร่างกาย สีหน้า โทนน้ำเสียง และอื่นๆ อีกมากมาย
บ่อยครั้งการปรึกษากับครอบครัวหรือเพื่อนอาจสามารถส่งผลเสียให้มากขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจเช่นกัน
ตัวอย่างคำพูดปลอบใจจากครอบครัว เพื่อน หรือ คนอื่นที่พบบ่อยซึ่งมักส่งผลเสียมากขึ้น
"พ่อแม่ก็เคยผ่านแบบนี้มาแล้ว ลูกก็ต้องผ่านมาได้"
"ช่างมันเถอะ"
"ทำไมคิดแบบนั้น"
"ก็อย่าไปคิดแบบนั้นสิ"
"เลิกคิดลบสิ"
"เรื่องเล็กนิดเดียวเอง"
"เมื่อวานเธอยังไม่เห็นเป็นไรเลย"